13 กรกฎาคม 2554

การคำนวณเพื่อเลือกใช้งานปลาบึก C-3XXM

ให้หาค่ากระแสใช้งานสูงสุดที่ระบุบน Name Plate ของมอเตอร์หรือคอมเพรสเซอร์ (จะระบุเป็น FLA-Full Load Amp หรือ RLA-Rated Load Amp หรืออาจจะบอกเพียงตัวเลข เช่น 3.2A)

หากไม่มีข้อมูลกระแสบน Name Plate ให้วัดกระแสไฟที่ใช้จริงของมอเตอร์หรือคอมเพรสเซอร์ ขณะภาระโหลดเต็มที่ (Full Load)

หากไม่มีข้อมูลกระแสใดๆเลย ให้คำนวณกระแสจากแรงม้า โดยใช้สูตร Is=6.5xHP
หากไม่มีข้อมูลอื่น ให้ใช้ข้อมูล Output Power (PW) ของมอเตอร์ในการคำนวณ โดยใช้สูตร Is=0.0087xPW
สำหรับเครื่องทำความเย็น หากมีคอมเพรสเซอร์หลายตัว ให้นำค่ากระแส Is ของทุกตัวมารวมกัน
สำหรับเครื่องทำความเย็น ที่มีอุปกรณ์รอบข้างเช่นหลอดไฟและพัดลมระบายความร้อน ในนำค่ากระแสไฟฟ้าที่อุปกรณ์เหล่านั้นใช้มารวมคำนวณด้วย หากไม่ทราบข้อมูล ให้ใช้ค่า 10% ของกระแสของคอมเพรสเซอร์ที่หาได้

ตัวอย่างที่ 1 ปั๊มน้ำขนาด 3/4แรงม้า ค่ากระแสที่ Name Plate ระบุไว้ 3.2A วัดกระแสใช้งานจริงได้ 3.0A
เนื่องจากกระแสจาก Name Plate ระบุไว้ 3.2A สูงกว่ากระแสที่วัดได้จริง 3.0A จึงเลือกใช้ตัวเลข 3.2A ในการเลือกรุ่น จากข้อมูลผลิตภัณฑ์จะพบว่าเราสามารถใช้รุ่น C-306M ได้ เนื่องจากรุ่นนี้สามารถรองรับกระแสใช้งานปกติได้ถึง 3.6A
ตัวอย่างที่ 2 ปั๊มน้ำขนาด 3/4แรงม้า ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ ที่ Name Plate ไม่มีการระบุค่ากระแส และไม่ทราบข้อมูลกระแสที่ใช้งานจริง
เนื่องจากไม่สามารถหาค่ากระแสใดๆ ได้ ดังนั้นจะประมาณค่ากระแสจากแรงม้าแทน โดยใช้สูตร Is=6.5xHP ในกรณีนี้มอเตอร์มีขนาด 3/4แรงม้า ดังนั้นค่ากระแสเท่ากับ 6.5x3/4=4.88A และการใช้งานปั๊มตัวนี้ใช้แบบเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้รุ่น C-306M ได้ ต้องเลือกใช้รุ่น C-310A ซึ่งทนกระแสใช้งานแบบเต็มประสิทธิภาพได้ถึง 6A
เปรียบเทียบกับตัวอย่างที่ 1 ซึ่งเป็นปั๊มน้ำขนาดเท่ากัน และรู้ขนาดกระแสทั้งจากการวัดและจาก Name Plate จะพบว่ามีกระแสเพียง 3.2A ในขณะที่ตัวอย่างที่ 2 เราประมาณจากแรงม้าได้ค่ากระแสมากถึง 4.88A ทำให้ต้องใช้รุ่น C-310M ที่มีราคาสูงกว่า

ตัวอย่างที่ 3 ปั๊มน้ำขนาด 500Wที่ Name Plate ไม่มีการระบุค่ากระแส และไม่ทราบข้อมูลกระแสที่ใช้งานจริง
สามารถเลือกรุ่นจากค่า Watt ในตารางได้เลย กรณีนี้ 500W สามารถใช้ได้ทั้งรุ่น C-306M ที่รองรับได้ 410-690W และรุ่น C-310M ที่รองรับได้ถึง 1150W ขึ้นอยู่กับว่าใช้งานหนักหรือไม่ หากใช้งานหนักก็ควรเลือกเป็นรุ่น C-310M ที่ทนได้มากกว่า

ตัวอย่างที่ 4 ตู้แช่เย็นขนาด2 ประตู มีข้อมูลจากแคตาล็อกว่าใช้คอมเพรสเซอร์ขนาด 1/2 แรงม้า
คำนวณกระแสใช้งานจากแรงม้าตามสูตร Is=6.5xHP ได้ค่า Is=6.5x1/2=3.25A เนื่องจากเป็นตู้แช่เย็น ต้องหาค่ากระแสของอุปกรณ์รอบข้างด้วยเช่นพัดลมระบายความร้อน แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูล ดังนั้นจะใช้ค่าประมาณ 10% ของ 3.25A รวมเป็น 3.58A จะเห็นว่าไม่เกิน 3.6A ดังนั้นจึงสามารถใช้รุ่น C-306M ได้

ตัวอย่างที่ 5 มอเตอร์ขนาด 5/8 แรงม้า ค่ากระแสที่ Name Plate ระบุไว้ 4.0A วัดกระแสจริงขณะใช้งานโหลดเต็มที่ได้เพียง 3.0A
แสดงว่ามอเตอร์ตัวนี้ถูกใช้งานเพียง 75% ของกำลังสูงสุด (เพื่อให้มีความคงทนไม่เสียง่าย) ในการเลือกรุ่น หากพิจารณาจากกระแสใช้งานจริง 3.0A สามารถใช้รุ่น C-306M ได้ทันที แต่หากดูที่กระแสบน Name Plate อาจซื้อเผื่อไว้เป็นรุ่น C-310M ก็ได้

ตัวอย่างที่ 6 มอเตอร์ขนาด 1.1kW ค่ากระแสที่ Name Plate ระบุไว้ 10 A วัดกระแสจริงขณะใช้งานโหลดเต็มที่ได้ 9.5A แต่ปกติจะใช้งานโหลดไม่เต็มที่ ใช้เพียงประมาณครึ่งเดียวเท่านั้น นานๆ จึงจะใช้แบบเต็มที่สักครั้งหนึ่ง
จากค่ากระแสที่มาก 9.5-10A ทำให้อย่างน้อยต้องใช้รุ่น C-310M แต่เนื่องจากกระแสมากกว่า 6A ซึ่งเป็นกระแสปกติของ C-310M จึงต้องดูต่อไปว่ามอเตอร์ตัวนี้ใช้งานหนักหรือไม่ จากโจทย์บอกว่าปกติใช้งานเพียง 50% ของกำลังสูงสุดเท่านั้น นานๆครั้งจึงจะใช้งานแบบเต็มกำลัง ดังนั้นจึงสามารถใช้รุ่น C-310M ได้เนื่องจากสามารถใช้งานกับมอเตอร์ได้ถึง 10A ในกรณีที่ใช้งานไม่เต็มที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น